วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาเซียน + 10

   
1.,มาเลเซีย

2.ไทย

3.ฟิลิปปินส์

4.พม่า

5.สิงคโปร์

6.เวียดนาม

7.ลาว

8.อินโดนีเซีย

9.กัมพูชา

อาเซียน + 9

   

   ประเทศคู่เจรจา หรือ อาเซียน +9 หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกัน คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้อีกด้วย



                                    อาเซียน+9 คืออะไร และมีประเทศใดบ้าง?

อาเซียน + 8



   อาเซียน +8 จะส่งผลดีต่อการส่งออก การเกษตร และอุตสาหกรรม สามารถตีตลาดเสรีทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย

                            อาเซียน +8

อาเซียน + 6

 

        สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว


จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%

                         

อาเซียน + 3



อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ในอนาคต

เป้าหมายของการจัดตั้งอาเซียน+3
การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน+3 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3. ด้านพลังงาน
4. สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

                          

สัตว์ประจำชาติอาเซียน...



                                               "สัตว์ประจำชาติอาเซียน มีดังนี้"

สัตว์ประจำชาติของประเทศไทย คือ ช้าง

สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา คือ กูปรี

สัตว์ประจำชาติของประเทศพม่า คือ เสือโคร่ง

สัตว์ประจำชาติของประเทศลาว คือ ช้าง

สัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย คือ มังกรโคโมโด

สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ควาย

สัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไน คือ เสือโคร่ง

สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ คือ สิงโต

สัตว์ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย คือ เสือโคร่งมลายู

สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย
                                       
                                           

"เมืองหลวงของอาเซียน



                                             "เมืองหลวงอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ มีดังนี้"

ประเทศไทย เมืองหลวงคือ กรุงเทพมหานคร (Bangkok)

ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)

ประเทศสิงคโปร์ เมืองหลวงคือ สิงคโปร์ (Singapore)

ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ประเทศพม่า เมืองหลวงคือ กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw)

ประเทศลาว เมืองหลวงคือ กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)

ประเทศเวียดนาม เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย (Ha Noi)

ประเทศมาเลเซีย เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)

ประเทศกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh

ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา (Manila)

สกุลเงินอาเซียน...


  สกุลเงินอาเซียน ของเรายังไม่ได้มีการกำหนดสกุลเงินกลาง ซึ่งจะสามารถใช้กันได้ทั้งอาเซียน 10 ประเทศโดยแต่ละประเทศยังจะใช้สกุลเงินของตนเองต่อไป ซึ่งเมื่อเดินทางข้ามประเทศจะต้องใช้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศนั้นๆ ยกเว้นประเทศที่มีพรมแดนติดกัน ที่จะสามารถใช้สกุลเงินได้ทั้งสองสกุลในพื้นที่ชายแดนเป็นการเฉพาะ เช่น บริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา สามารถใช้ได้ทั้งเงินบาทของไทย และเงินเรียลของกัมพูชา เป็นต้น


                                                                              

ธงอาเซียน 10 ประเทศ

                               
        

ประชากรอาเซียน#

     

       ประชากรอาเซียน มีจำนวนทั้งสิ้น 636,512,723 ล้านคน (ข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2557) หรือประมาณ 8.85% ของประชากรโลก โดยประเทศอินโดนีเซียมีจำนวนประชากรสูงสุด จำนวน 253,609,643 คน และประเทศบรูไนมีประชากรน้อยที่สุด โดยมีประชากรเพียง 400,000 คนเศษ


อันดับ 1 : ประเทศอินโดนีเซีย
จำนวนประชากร : 253,609,643 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

อันดับ 2 : ประเทศฟิลิปปินส์
จำนวนประชากร : 107,668,231 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์

อันดับ 3 : ประเทศเวียดนาม
จำนวนประชากร : 93,421,835 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 4 : ประเทศไทย
จำนวนประชากร : 67,741,401 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 5 : ประเทศพม่า
จำนวนประชากร : 55,746,253 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 6 : ประเทศมาเลเซีย
จำนวนประชากร : 30,073,353 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

อันดับ 7 : ประเทศกัมพูชา
จำนวนประชากร : 15,458,332 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 8 : ประเทศลาว
จำนวนประชากร : 6,803,699 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 9 : ประเทศสิงคโปร์
จำนวนประชากร : 5,567,301 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อันดับ 10 : ประเทศบรูไน
จำนวนประชากร : 422,675 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

เพลงอาเซียน "

                                                                 
"เนื้อเพลงภาษาอังกฤษ"

Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look’in out to the world.
For peace our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream,
We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream,
We care to share
For it’s the way of ASEAN.


"เนื้อเพลงภาษาไทย" 

 พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา 
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
ศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล

คำขวัญอาเซียน *




คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หรือ One Vision, One Identity, One Community

  ความหมายอันลึกซึ่งของคำขวัญอาเซียน บ่งบอกไส้อย่างชัดเจนถึงการหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ทั้งวิสัยทัศน์ของกลุ่มอาเซียน เอกลักษณ์ รวมถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของมวลหมู่สมาชิกอาเซียนทั้งหลาย



                              

สามเสาหลักอาเซียน :)




3 เสาหลักอาเซียน คือ 3 ความร่วมมือหลักของกลุ่มสมาชิกอาเซียน ที่จะช่วยหล่อหลอมทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเป็นหนึ่งเดียว มีความแข็งแกร่งและเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในทุกๆด้านกับภูมิภาคอื่นๆได้


3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY หรือ ASCC)



                     
                     

ภาษาอาเซียน^^



ภาษาอาเซียน  ที่ใช้เป็นภาษากลางในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ (กฎบัตรอาเซียน ข้อ 34) โดยภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่ใช้ในระหว่างการประชุม การโต้ตอบทางจดหมาย การจัดทำรายงานการประชุม ผลการพิจารณาและมติที่ประชุมตลอดจนการจัดทำคำแถลงการณ์ และการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของอาเซียน ทั้งนี้ในฐานะที่เป็นสมาคมอาเซียนไม่ได้ให้บริการด้านการแปลหรือตีความ

ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน มีดังนี้
- ประเทศอินโดนีเซีย ภาษาราชการคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
- ประเทศมาเลเซีย ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (Bahasa Melayu)
- ประเทศฟิลิปปินส์ ภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ (Filipino, ฟิลิปิโน หรือภาษาตากาล็อก)
- ประเทศสิงค์โปร์ ภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ (English)
- ประเทศบรูไน ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu)
- ประเทศเวียดนาม ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
- ประเทศลาว ภาษาราชการคือ ภาษาลาว (Laotian)
- ประเทศพม่า ภาษาราชการคือ ภาษาพม่า (Burmese)
- ประเทศกัมพูชา ภาษาราชการคือ ภาษาเขมร (Khmer)
- ประเทศไทย ภาษาราชการคือ ภาษาไทย (Thai)

                           

เลขาธิการอาเซียน ^_^



เลขาธิการอาเซียน (Secretary General of The ASEAN) ชื่อเต็มของตำแหน่งคือ เลขาธิการใหญ่แห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน
มีหน้าที่กำกับดูแลงานของอาเซียนในภาพรวม อำนวยความสะดวก ดูแลความคืบหน้าในการดำเนินงานตามความตกลงและข้อตัดสินใจของอาเซียน จัดทำและเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานและข้อคิดเห็นของอาเซียน เข้าร่วมการประชุมกับประเทศคู่เจรจาตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบ

วาระการดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการอาเซียนมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยจะสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 สมัยเท่านั้น ไม่สามารถต่ออายุได้ (Non-renewable Term) ในรอบปัจจุบัน เลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2560

เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ นายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 และจะสิ้นสุดวาระใรวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2560 โดยนายนายเล เลือง มินห์ เข้าดำรงตำแหน่งเขาธิการอาเซียนต่อจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนก่อนจากประเทศไทย

                     
                                 

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ธงอาเซียน

ธงอาเซียน (ASEAN Flag) คือ สัญลักษณ์ของการรวมตัวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้คำขวัญ “One Vision, One Identity, One Community” หรือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
รูปร่างลักษณะของธงอาเซียน
ธงอาเซียน ได้รับการออกแบบได้มีลักษณะเรียบง่าย แต่สามารถสื่อความหมายการรวมตัวกันของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยธงอาเซียนนี้ ได้ถูกออกแบบให้มีพื้นสีน้ำเงิน มีต้นข้าวสีเหลืองทองจำนวน 10 ต้น (แทนความหมายของชาติสมาชิกทั้ง 10) อยู่ตรงกลาง ซึ่งต้นข้าวทั้ง 10 ต้นนี้อยู่ในวงกลมสีแดง และขอบของวงกลมสีขาว
ความหมายของสีต่างๆในธงอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สัญลักษณ์อาเซียน

     สัญลักษณ์อาเซียน ได้รับการออกแบบให้เป็นรูปรวงข้าวสีเหลืองทองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมกันอยู่เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน โดยพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาวและน้ำเงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน วางอยู่ใต้รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งมวล ส่วนสีน้ำเงินในสัญลักษณ์อาเซียน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ประวัติความเป็นมา "อาเซียน"

(ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations,อักษรย่อ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามของประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งในปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration) หรือชื่อเต็มคือปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) ที่พระราชวังสราณรมย์ โดยที่สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์

ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบไปด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย


ภายหลังจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว ได้มีประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีก 5 ประเทศที่เหลือ ได้ยื่นความจำนงค์ขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งประเทศอาเซียนทั้ง 5 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในเวลาต่างๆกันดังนี้
-ลำดับที่ 6 ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527
-ลำดับที่ 7 ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ. 2538
-ลำดับที่ 8 ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
-ลำดับที่ 9 ประเทศสหภาพพม่า ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2540 (พร้อมกับลาว)
-ลำดับที่ 10 ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

ความหมายของคำว่า "อาเซียน"

       อาเซียน  คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมตัวกันในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN อ่านออกเสียงภาษาไทยว่า อาเซียน โดยมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนก็เพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้ และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ